SOCIAL MEDIA

Social Media คือโครงข่ายการสร้าง Media ที่มีการตอบสนองทางสังคมได้หลายทิศทาง โดยคนที่สร้างสื่อใช้ความสามารถในการเข้าถึงได้ง่ายของอินเตอร์เน็ท ความจริงแล้ว Social Media เกิดขึ้นเพราะความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ในความเป็นสัตว์สังคมที่ต้อง การการปฎิสัมพันธ์กันและต้องการความเห็นกันนั่นเอง ในครั้งแรกนั้นเกิดจากยุคเว็บ 2.0 ( จาก broadcast media monologues : one to many เป็น social media dialogues :many to many ) และเมื่อเกิด media จำนวนมากก็จะเกิดสถิติของแต่ละ Category ,เกิดกลุ่มผู้เสพสื่อแต่ละCategory และการคัดเลือกคุณภาพ Media ตามธรรมชาติ

ถ้าพูดให้ง่ายขึ้นก็คือยุคนี้เราไม่ได้ต้องการตัดสินใจอะไรจากสื่อๆสื่อ เดียวแล้วครับ เราฟังข่าวแต่เพียงด้านเดียวจากทีวีและหนังสือพิมพ์มานาน เราเบื่อคำว่า Super ,Extra Ordinary , Award winning หรือคำพร่ำพรรณาเชิง Marketing จากโฆษณาของผู้ผลิต แต่เราอยากอ่านความคิดเห็น และสอบถามความรู้สึกของคนที่เคยมีประสบการณ์จากมันมากกว่า นั่นคือมุ่งไปทาง Social Media มากขึ้น

ผมอยากสรุปสั้นๆในทัศนะของผมว่า Social Media คือ Framework ทางสังคมและอินเตอร์เน็ทของการสร้างสื่อโดยทุกคนเพื่อทุกคน

ความแตกต่างของ Social Media และ Industrial Media

Industrial Media ( “traditional”, “broadcast” หรือ “mass” media ) หรือสื่อกระแสหลักนั้นได้แก่สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ สื่อทั่วไปที่ต้องลงทุนสูงและทำงานเป็นระบบนั่นเอง สื่อหลักเหล่านี้มีความรับผิดชอบด้วย Model Business ที่ run บนความเชื่อมั่นในสื่อ ดังนั้นข้อมูลส่วนใหญ่ต้องมีที่มาและมีแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ ส่วน Social Media นั้น Vary ความเชื่อมั่นตั้งแต่คนทั่วไปสามารถผลิตสื่อได้เลยโดยแทบไม่ต้องลงทุนและบาง คนไม่จำเป็นต้องหาข้อมูลอ้างอิงครบก็สามารถพูดได้เลยก็มีจนไปถึงคนดังๆที่ ต้องมีการ research ก่อนพูดครับ ส่วนความสามารถในการเข้าถึงคนจำนวนมากระหว่างสื่อทั้งสองอย่างนั้นในประเทศ ไทยก็ใกล้เคียงกันขึ้นเรื่อยๆแล้ว ทั้ง Industrial และ Social Media นั้นมีสิทธิ์ที่จะไม่มีคนมาดูเลยหรือมีคนมาดูเป็นหลักแสนได้เหมือนกัน

จุดทีแตกต่างอย่างมากก็คือ Social Media นั้นปัจจุบันสามารถแพร่ออกไปได้เร็วกว่าสื่อกระแสหลักเสียด้วยซ้ำ ในสมัยก่อนสมมติว่าเกิดเหตการณ์ A ขึ้น สื่อหลักจะมีนักข่าวที่ไปทำการเก็บภาพและสัมภาษณ์พยานในที่เกิดเหตุ แต่ในปัจจุบันยุคที่พยานทั้งหลายต่างมีโทรศัพท์มือถือถ่ายรูปได้และสามารถ ส่งรูปพร้อมข้อความออกไปได้ในทันทีนั้น ผู้บริโภคสื่อจะได้ข้อมูลที่เร็วกว่าโดยที่มีข้อแลกเปลี่ยนตรงต้องใช้ วิจารณญาณในการกรองข้อมูลเอง ในขณะที่ผู้สื่อข่าวถ้าไม่ได้อยู่ในเหตการณ์ก็เปรียบเหมือนได้ข่าวมือสองไป นั่นเองครับ กว่าภาพข่าวจะออกข่าวก็ล้าสมัยไปมากแล้ว อย่างไรก็ตามเมื่อมีสื่อมากขึ้นมหาศาล ผู้คนก็จะพยายามสร้างระบบจัด Category ของผู้นำเสนอข่าวว่าคนๆนี้ชอบพูดเรื่องใดและเชี่ยวชาญเรื่องใดเป็นพิเศษ เช่นถ้ามีโปรแกรมเมอร์ที่ไม่เคยคุยเรื่องรถยนต์คนนึงเกิดพูดเรื่องรถยนต์ออก มาในบล็อกก็น่าจะได้ความน่าเชื่อถือต่ำกว่าคนที่คร่ำหวอดเรื่องรถมานานนั่น เอง รวมทั้ง Google เองก็พยายามที่จะทำความเข้าใจจากการ Reference โดยคนอื่นๆใน Category ต่างๆด้วยนั่นเอง

ข้อแตกต่างต่อมาคือ สื่อหลักมักจะไม่สามารถที่จะ Update ข้อมูลเดิมได้สะดวกนักโดยถ้าประกาศออกไปแล้วทุกคนก็จะรับรู้การประกาศนั้น ครั้งเดียว ในขณะที่สื่อ Social สามารถปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมได้ทั้งจาก Comment และการ edit ข้อมูลเพิ่มเติมโดยไม่ต้องมีต้นทุนใดๆ อย่างไรก็ตาม Industrial Media ก็พยายามปรับปรุงผสมกันทั้ง Social โดยมีนักข่าวมือสมัครเล่นร่วมกับการประกาศผ่านระบบหลัก ( industrial media frameworks) แต่เห็นว่าทำได้ค่อนข้างยากเพราะมี Conflict of Interest เกิดโดยธรรมชาติระหว่าง “การได้รับการยอมรับในนามองค์กร”กับ”การได้รับการยอมรับในตัวบุคคล”

Social Media และการเปลี่ยนผ่าน

ความเห็นจาก netfuture เรื่องโครงสร้างบริษัทสื่อแบบใหม่ สำหรับสื่อแบบใหม่บริษัทสื่อใหม่ในอนาคตจะมีขนาดเล็กลง แต่ละรายโฟกัสงานเฉพาะด้าน ไม่เป็นเครือสื่อยักษ์ที่มีทุกอย่างแบบเดิม แต่ก็ควรรวมตัวกันเป็นเครือข่ายแบบหลวมๆ ด้วยการเปิด API ให้เนื้อหาในแต่ละเว็บสามารถผสมหรือรวมเข้าด้วยกันได้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอุตสาหกรรมสื่อจะยังไม่เกิดขึ้นในเร็ววัน แม้ว่าสื่อใหญ่แบบเก่าเริ่มจะได้รับผลกระทบจากสื่อใหม่ แต่ว่าสื่อเก่าก็ยังทรงอิทธิพลกว่าสื่อแบบใหม่มาก อย่างไรก็ตาม ช่วงนี้คือ “ระยะเปลี่ยนผ่าน” ที่สำคัญ

ผมเห็นว่าสำหรับธรรมชาติของการเสพสื่อในแต่ละพื้นที่ก็จะเป็นตัวกำหนด ลักษณะการเปลี่ยนผ่านด้วยครับ สำหรับประเทศไทยที่เป็นประเทศแห่งความเชื่อและมีการ Reference ต่ำนั้นการเปลี่ยนผ่านจะขลุกขลักว่าประเทศที่ทำวิจัยอย่างสม่ำเสมอก็เป็นไป ได้ นักวิจัยในประเทศเราก็ยังมีโครงสร้างที่สัมพันธ์กับสื่อหลัก อยู่ค่อนข้างแน่นและมีจำนวนมากที่ไม่เข้าใจปรัชญาของ Web 2.0 ในการเผยแพร่ผลงานตัวเองด้วยซ้ำ ( แต่ก็เป็นวังวนของการไม่เชื่อมั่นในเรื่องลิขสิทธิ์ทางปัญญาของไทยด้วยเช่น กัน )ข้อมูลโดย http://www.ipattt.com/2009/social-media/

  1. มีสาระมากๆ และความรู้มากมายครับ

  2. มีสาระมากๆ และความรู้มากมายครับ

  3. มีสาระมากๆ และความรู้มากมาย

  4. น.สพิมพกานต์ ดีดวงพันธ์

    ครูอะไรหล่อจริงๆแต่ด่าเก่งนิดหน่อย

  5. น.ส.นิ่มนวล พิกุลศรี

    ครูน่ารักมาก

  6. น.ส ชฎารัตน์ พิกุลศรี

    สอนดีเรียนแล้วสนุก อยากให้ครูเป็นที่ปรึกษาจังค่ะ

  7. น.ส สุติพร ดีดวงพันธ์

    สอนดี ใจดี

  8. น.ส.อนุตรา ใจทัด

    เรียนกับครูแล้วสนุกมาก

  9. น.ส ศรีสุดา คำนนท์

    สอนดี ใจดี

  10. น.ส จันทร์ศา บุตทศ

    สอนดี หล่อ เก่งด้วย

  11. น.ส นงนุช มูลพรม

    สอนดี น่ารัก

  12. น.ส นวลจรี ดีวงพัน์

    สอนดี น่ารัก

ใส่ความเห็น